เส้นผมคนเรานอกจากจะทำหน้าที่หลักในการปกป้อง
หนังศีรษะไม่ให้ เสียความร้อน
มากเกินไป และ ป้องกันรังสีความร้อนของแสงแดดแล้ว
เส้นผมยังมีอีกบทบาทสำคัญ
ที่ช่วยทำให้ใบหน้าเราดูดี เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเราเอง
และ มีส่วนเสริมให้บุคลิกเราดี
อีกด้วย
ฉะนั้นเราน่าที่จะเริ่มมาทำความรู้จักผมอย่างจริงจังกันดูสักที
เส้นผมและขนบนตัวคนแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ขนลานูโก (Lanugo hair) - หรือ ขนเส้นเล็กๆบางๆ ที่พบบน
ตัวทารกที่ยังอยู่ ในครรภ์มารดาแล้ว จะร่วงหลุดออกประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนคลอด
2. ขนเวลลัส (Vellus hair) - หรือ ขนสีอ่อน บางและสั้น เป็นขนที่อยู่บนตัวตามแขน
หรือบนใบหน้าของเรา
3. ขนเทอร์มินัล (Terminal hair) - หรือ ขนสีเข้ม หนาและยาว ซึ่งโดยปกติก็คือ
เส้นผมบนศรีษะของเรานั้นเอง
ส่วนประกอบหลักๆของผมประมาณ 65% - 95% คือ โปรตีนชื่อสารเคอราติน keratin
ที่ให้ความแข็งแรง
ส่วนที่เหลือจะเป็นสารประกอบอื่นๆ เช่น amino acid, ไขมัน, น้ำ และ เซลเม็ดสี
เพราะฉะนั้น
หากคุณต้องการให้ผมสวยและมีสุขภาพแข็งแรง ก็อย่าลืมรับประทานอาหารประเภทโปรตีน
เพื่อบำรุงเส้นผม
ส่วนลักษณะของผมจะหยิกหรือตรง แข็งหรือนิ่ม เส้นใหญ่หรือเล็ก มีสีสันเป็นอย่างไรนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติที่แต่ละบุคคล ได้รับมาจากบรรพบุรษของตนนั่นเอง
โดยประมาณผมบนศรีษะเราจะมีเฉลี่ยราว 80,000 - 120,000 เส้น
ในคนที่มีผมหนาอาจมีผมถึง 150,000 เส้นเลยทีเดียว เส้นผมแต่ละเส้นก็จะมีวงจร
(Hair Cycle) หรือ วัฏจักรในการงอก และหลุดร่วงอยู่ 3 ระยะด้วยกันอันได้แก่
1. ระยะแอนนาเจน (Anagen Phase) - เป็น ช่วงระยะเวลาที่ผมของเรางอกงามนั้นเอง
ซึ่งช่วงนี้จะมีระยะเวลายาวนานราว 3-7 ปีต่อเส้นโดยเฉลี่ย เช่น ในวันเด็กระยะแอนนาเจน
อาจจะยาวนาน 7 ปี
แต่พออายุมากขึ้นระยะแอนนาเจนก็จะน้อยลงเหลือ 5 ปี ถ้าร่างกายเข้าสู่วัยชราระยะแอนนาเจน
ของผมอาจจะเหลือเพียง 3 ปีเป็นต้น ในระยะนี้ผมของเราจะงอกเร็วประมาณ 1 เซนติเมตรต่อเดือน
2. ระยะคะทาเจน (Catagen Phase) - เป็นระยะหยุดงอก ในระยะนี้เส้นผมจะขาดอาหารมาเลี้ยง
ทำให้ต่อมผมหดเล็กลงและหยุดทำงานนานประมาณ 7-10 วัน
3. ระยะเทโลเจน (Telogen Phase) - หรือ ระยะพัก ซึ่งเมื่อผมพ้นจากระยะหยุดงอกแล้ว
ก็จะหลุดร่วงไปเข้าสู่ระยะพักซึ่งกินเวลาราว 3 เดือน โดยปกติแล้วผมประมาณ 10% จะอยู่ในระยะนี้
ในทุกๆขณะของชีวิตเราผมคนเราจึงร่วงไม่พร้อมกัน
และนี่จึงเป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เราเข้าใจวงจรของผมมากขึ้น และ ทำให้เราเข้าใจว่า
ทำไมเราถึงต้องใช้เวลา ในการรักษาอาการผมร่วงผมบางนาน 3 เดือนขึ้นไปจึงจะเห็นผล
ก็เพราะเจ้าช่วงระยะพักนี่เองที่ใช้เวลานานถึง 3 เดือน
Hair Loss
ถึง แม้ว่าอาการผมร่วงผมบางจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่เชื่อได้ว่าถ้าวันหนึ่งวันใด
ที่เส้นผมของเราเกิดร่วงไปและไม่กลับขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็นคนศีรษะล้าน หลายๆคนคงทำใจไม่ได้
อันเป็นอันตรายต่อจิตใจเป็นแน่แท้
อาการผมร่วงสังเกตุได้จากจำนวนเส้นผมที่หลุดร่วงในแต่ละวัน หากนับรวมกันเกิน 100 เส้นต่อวัน
ก็ถือว่าเข้าข่ายมีอาการผมร่วงได้แล้ว หากไม่มั่นใจว่าจะสามารถ เก็บเส้นผม ที่หลุดร่วงทั้งวันได้
ขอแนะนำเทคนิคในการตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งคือ เทคนิคการดึงผม (hair pull)
โดยการหยิบเส้นผมของขึ้นมาหนึ่งกระจุกแล้ว
นับให้ได้ราว 60 เส้น ใช้นิ้วจับเส้นผมบริเวณโคนผม ให้พออยู่แล้วดึงรูดไปทางปลายผมช้าๆ
โดยไม่ต้องใช้แรงมาก ทำซ้ำในบริเวณศรีษะส่วนอื่นอีก 6 ครั้ง หากการดึงแต่ละครั้งมีเส้นผม
ร่วงหลุดติดมือมามากกว่า 6 เส้นแสดงว่าเข้าข่ายมีปัญหาผมร่วงเข้าแล้ว
ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อาการผมร่วงและศรีษะล้านแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1) อาการผมร่วงศรีษะล้านชั่วคราว
ผมร่วงและศีรษะล้านอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นโรคของต่อมไทรอยด์ โรคโลหิตจาง
ภาวะหลังไข้สูง ๆ
การลดน้ำหนักตัวมาก ๆ ภาวะหลังคลอดบุตร ความเครียด การแพ้แชมพู ยาย้อมผมที่มีสารเคมี
รวมทั้งจากยากินบางชนิด ฯลฯ
แต่สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะทำให้เส้นผมของเราร่วงเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะเซลล์เส้นผมซึ่ง
อยู่ใต้หนังศีรษะมักจะยังไม่ตาย เมื่อพ้นช่วงเวลาดังกล่าวไป หรือต้นเหตุดังกล่าวหมดไป
เส้นผมก็มักจะกลับงอกมาใหม่ดังเดิม
สาเหตุของผมร่วงในกลุ่มนี้ แม้จะมีมากมายหลายสาเหตุ แต่กลับพบเป็นส่วนน้อย ประมาณ 5-10 %
ของสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงเท่านั้น จึงขอยกตัวอย่างบางลักษณะอาการเท่านั้น
o ผมร่วงจากโรคเชื้อราที่หนังศีรษะ ลักษณะส่วนใหญ่ที่พบคือมีหย่อมผมร่วงบนศีรษะ
ซึ่งอาจจะมีหย่อมเดียวหรือ หลายหย่อมก็ได้ เส้นผมจะหักและหลุดร่วงเหลือเป็นต่อสั้นๆ หรือ
เห็นเป็นจุดดำเหลืออยู่ปากรูขุมขนหนังศีรษะมักจะเป็นขุย หรืออาจมีการอักเสบปรากฎให้เห็น
หากอาการรุนแรง จะมีตุ่มหนองเกิดขึ้นรอบขุมขนและ ลุกลามเป็นก้อนบวมแดงมีหนองหรือน้ำเหลืองได้
o ผมร่วงจากถอนผม ผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นเด็กที่มีความเครียด หรือภาวะเก็บกดทางจิตใจ
และหาทางผ่อนคลายโดยการถอนผมตัวเอง ซึ่งอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ลักษณะการร่วงจะ
ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ป่วยว่าจะมีวิธีถอนอย่าง ไร วิธีการรักษาอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ร่วมด้วย
o ผมร่วงจากภาวะหลักการคลอดบุตร เนื่องจากมีการลดลงของ
ระดับฮอร์โมนหลักหรือ Growth Hormone จากการคลอดบุตรส่วนใหญ่
จะกลับขึ้นเป็นปกติหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว
o ผมร่วงจากการรับยาบางชนิด เช่น จากยาเคมีบำบัดในรายที่เป็นโรคมะเร็ง แต่เมื่อหยุดยาแล้วเส้นผมจะ
งอกกลับมาดังเดิม
2) อาการผมร่วงศรีษะล้านถาวร เป็นอาการศีรษะล้านที่มีสาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุ
ที่พบได้มากที่สุดถึง 90-95% ทีเดียว ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์มีลักษณะเฉพาะ ที่ไม่เหมือนกับ
ศีรษะล้านชนิดอื่น
ลักษณะการหลุดร่วงของเส้นผมจะมี pattern หรือ ลักษณะเฉพาะ ในการหลุดร่วง ที่แน่นอน
ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า Male Pattern Hair Loss หรือเรียกสั้นๆว่า MPHL
สำหรับอาการที่เกิดในเพศชาย
ส่วนลักษณะอาการหลุดร่วงในเพศหญิงก็จะเรียกว่า Female Pattern Hair Loss นั้นเอง
เพียงใช้การสังเกตก็พอจะบอกได้ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องอาศัยการตรวจสภาพหนังศีรษะ
หรือวิเคราะห์เส้นผม
แต่ประการใด ในผู้ชายมักจะเริ่มจากการร่นถอยของแนวผมทางด้านหน้าเข้าไปเป็นง่าม
หรืออาจเถิกลึกเข้าไปตลอดทั้งแนว หรือ หัวเถิกนั่นเอง
ต่อมาจะเกิดศีรษะล้านด้านหลังตรงบริเวณขวัญที่หลายคนมักเรียกว่าไข่ดาว
ถ้าเป็นมากขึ้น ศีรษะล้านทางด้านหน้ากับด้านหลัง จะมาเชื่อมกัน จนกลายเป็นศีรษะล้านบริเวณกว้าง
แต่ในบางรายอาจมีผมร่วง ผมบางเฉพาะตรงกลางๆศีรษะเท่านั้น แต่แนวด้านหน้ายังดีอยู่
Why do men go bald? เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมเราจึงมักเห็นแต่ผู้ชายหัวล้าน หัวเถิก
เดินกันขวักไขว้ไปมา ไม่ยักเห็นผู้หญิงหัวล้านกันบ้างเลย
เรื่องนี้มีคำตอบทางการแพทย์
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าภาวะศีรษะล้านนั้นมาสาเหตุจาก
กรรมพันธุ์เป็นหลักถึงร้อยละ 90-95 แล้วทำไมถึงเห็น
แต่เกิดในผู้ชายหละ ในความจริงนั้นการแสดงอาการผมร่วงผมบางอัน
มีสาเหตุจาก พันธุกรรมนั้นจะเกิดขึ้นได้
จำเป็นต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1.กรรมพันธุ์หรือยีนศีรษะล้าน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
2.ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโตเตอร์โรน (Testosterone, T)
ฮอร์โมนเพศชายนี้สร้างจากลูกอัณฑะ และต่อมหมวกไต
แล้วจึงเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียน ไปสู่ส่วน ต่างๆของร่างกาย รวมถึงที่หนังศีรษะด้วย
โดยบริเวณหนังศรีษะนี้เองที่ฮอร์โมนนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็น ฮอร์โมนเพศชายอีกตัวหนึ่ง ชื่อว่า
DHT (Dihydrotestosterone)
กระบวนการนี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในผู้ชายทุกคน และเจ้า DHT ก็จะจับกับเซลล์เส้นผม
ซึ่งอยู่ใต้หนังศีรษะ และออกฤทธิ์ยับยั้ง กระบวนการสร้างเส้นผมทำให้เส้นผม
ที่ขึ้นมาใหม่(ทดแทนเส้นผมเดิมที่ร่วงไป) มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ต่อมาก็จะกลายเป็นผมเส้นอ่อนๆและตายไปในที่สุดจึงเกิด ภาวะผมบางและศีรษะล้าน
อย่างถาวร ตามมา
ผู้ชายทุกคนมีฮอร์โมนเพศชาย แต่ถ้าเขาไม่มียีนส์ศีรษะล้าน ศีรษะเขาก็จะไม่ล้าน
ในทำนองเดียวกัน
แม้ผู้ชายบางคนจะมียีนส์ศีรษะล้านในตัวเขา แต่ถ้าเขาไม่มีฮอร์โมนเพศชาย
(ผู้ชายที่ไปแปลงเพศ โดยการตัดลูกอัณฑะทิ้ง
ก่อนที่ศีรษะจะล้าน) ศีรษะเขาก็จะไม่ล้านเช่นกัน เพราะปัจจัย ที่ทำให้เกิดศีรษะล้านมีไม่ครบ
ดังนั้นผู้หญิงที่มียีนศีรษะล้านจึงไม่แสดงอาการ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิด
ศีรษะล้านมีไม่ครบนั้นเอง
ฉะนั้นความเชื่อที่ว่าศีรษะล้านถาวร เกิดจากเลือดไปเลี้ยงศีรษะน้อย
มีสิ่งสกปรกไปอุดตันรูขุมขน หนังศีรษะมัน
การสระผมบ่อย ๆ หรือการสวมหมวกตลอดเวลา ฯลฯ จึงเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง
ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่ต้องทำงานกลางแดดกลางฝนท่ามกลางฝุ่นละอองบนท้องถนน
ก็ไม่พบว่ามีปัญหา ผมร่วง ศีรษะล้าน
มากกว่าคนทั่วไป
เอกสารอ้างอิง
1. อภิชาติ ศิวยาธร และคณะ (2545). Alopecia ในตจวิทยาทันยุค; 195-200.
ภาคตจวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2. นพ.ดำเกิง ปฐมวาณิชย์ ในหนังสือผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
Saturday, August 08, 2009
ปัญหาผมร่วงแก้ไขได้
Hair is... ผมคืออะไร…